ยางนา

ทำนายฝนแม่นยำ 100%

เชื่อหรือไม่ว่าต้นยางนาที่เราเห็นกันทั่วไป มีความสามารถในการทำนายฝนได้ จากประสบการณ์ การศึกษาและการติดตามผลมานานปี ของอาจารย์นพพร นนทภา ปราชญ์นักปลูกป่าผู้มากประสบการณ์ ได้ให้ความกระจ่างเรื่องความสามารถ ในการทำนายฝนของต้นไม้ตระกูลยางเอาไว้ว่า

ต้นไม้ในวงศ์ยางนารู้วันฝนตก โดยสามารถรู้ล่วงหน้าตามระยะเวลา โดยใช้วิธีนับวัน “ตั้งแต่ดอกร่วงพรูจนถึงวันที่ผลร่วง” ซึ่งอาจารย์นพพรยืนยันว่า ต้นไม้ตะกูลยางนาทุกชนิดทุกต้น ให้ข้อมูลที่แม่นยำไม่มีผิดเพี้ยนแม้แต่ต้นเดียว

วิธีการคำนวณวัน มาจากหลักวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เกี่ยวกับนิสัยของไม้วงศ์ยางนา ที่ใช้ลมพายุฝนในการกระจายพันธุ์ ผลของต้นยางนานั้นมีชีวิตที่สั้น พวกมันจึงต้องแก่ให้ตรงกับช่วงที่มีพายุฝน

จากการศึกษาต้นไม้ตะกูลยางนา 9 ชนิด ที่อาจารย์นพพรทำการศึกษาได้แก่ ยางนา (Dipterocarpus alatus)
ยางกราด (Dipterocarpus intricatus)
พลวง (Dipterocarpus tuberculatus )
เหียง (Dipterocarpus obtusifolius )
ตะเคียนทอง (Hopea odorata)
กระบาก (Anisoptera costata)
พะยอม (Shorea roxburghii)
เต็ง (Shorea obtusa)
รัง (Shorea siamensis)

โดยหลักการคำนวณวันฝนตกคือ ให้เริ่มนับจากวันที่ดอกร่วงพรู แล้วปรับช่วงเวลา ±5 วัน ส่วนสาเหตุที่ใช้ช่วงที่ดอกร่วงพรู เป็นจุดเริ่มในการคำนวณก็เพราะว่า การเริ่มจากออกดอกหรือดอกบานนั้นสังเกตุได้ยาก โดยมีสูตรในการคำนวณวันฝนตกแยกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มที่ใช้เวลานับจากวันที่ดอกร่วงพรูจนถึงวันผลร่วง 90 วัน สกุล Dipterocarpus ได้แก่ ยางนา เหียง ยางกรวด สูตรจึงเป็น 90 -+5 วัน

2. กลุ่มที่ใช้เวลานับจากวันที่ดอกร่วงพรูจนถึงวันผลร่วง 60 วัน สกุล Dipterocarpus บางชนิดได้แก่ พลวง สกุล Hopea ได้แก่ ตะเคียนทอง สกุล Shorea ได้แก่ เต็ง รัง พะยอม และสกุล Anisoptera ได้แก่ กระบาก สูตรจึงเป็น 60 -+ 5 วัน

#conservation #lovenature #wildlife #learning
ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ.นพพร นนทภา
https://www.facebook.com/photo?fbid=2481553988562065&set=a.428730103844474